วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัดพระธาตุหลวงพ่อทันใจ กมลวรรณ กาแก้ว



วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
      
หลวงพ่อทันใจ" วัดพระบรมธาตุบ้านตาก อ.บ้านตาก จ.ตาก ที่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธา                                          มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อทันใจ ว่าขอสิ่งใด ล้วนแต่ได้สมดังใจปรารถนาทุกประการย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2519 นายทิพย์ หิงคานนท์ อดีตข้าราชการครู หลังเกษียณอายุราชการ ได้ล้มป่วยลงอาการหนักมาโดยตลอด จึงได้มาสักการะพระบรมธาตุ และอธิษฐานต่อองค์หลวงพ่อทันใจ ขอให้หายป่วย มีสุขภาพดีแข็งแรง จะกลับมาทอดกฐินที่วัดแห่งนี้ 15 ปีปรากฏว่า    เป็นจริงดั่งคำอธิษฐาน อาการเจ็บป่วยของนายทิพย์ทุเลาลงตามลำดับ และในปี  พ.ศ.2520    จึงมาทอดกฐินพร้อมคณะญาติชาวจังหวัดชลบุรี ต่อเนื่องจนครบ 15 ปี   และต่อมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งนายทิพย์ได้ถึงแก่กรรมในวัย 89 ปี แต่ความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทันใจยังคงแพร่ขยายไปทั่วสารทิศ เช่น นักฟุตบอลทีมชาติไทย เคยยกทีมมาไหว้แก้บนเมื่อหลายปีก่อน,          บรรดานักการเมืองระดับชาติ,  นักธุรกิจใหญ่ต่างเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทันใจ เดินทางมาแก้บนตามที่ได้อธิษฐานไว้หลวงพ่อทันใจ ไม่เพียงแต่ดลบันดาล ในเรื่องหน้าที่การงาน ธุรกิจ การค้าขาย สำเร็จไปด้วยดีเท่านั้น ยังรวมไปในเรื่องของความรัก คู่ครอง และขอ บุตร-ธิดา
ส่วนการเสี่ยงทายความสำเร็จ มีช้างเสี่ยงทาย ใช้นิ้วก้อยยกสำหรับผู้ชาย และนิ้วนางสำหรับผู้หญิง ทำนายดวงชะตา หากสำเร็จครั้งแรกขอให้ยกขึ้นทันที และอธิษฐานยกใหม่อีกครั้ง ขอให้ยกไม่ขึ้น หากคำทำนายดีสำเร็จดังหมาย ซึ่งก็สมปรารถนาดังใจทุกประการ  โดยเครื่องบูชาหลวงพ่อทันใจ จะเป็นกล้วย ส้ม ผลไม้ตามฤดูกาล ส่วนของไหว้ประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ห้ามนำเข้ามาถวายและห้ามนำเข้าเขตพัทธสีมาอย่างเด็ดขาด ยกเว้น ไข่ต้มสุกอย่างเดียว  วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ยังปรากฏในศิลาจารึของพ่อขุนรามคำแหง   ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะศึกเจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุ ประมาณ 500 เมตรตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งเขียนเป็นภาษาเหนือ กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตามลำน้ำปิง พระองค์ได้เสด็จมายังดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยมะหิยังกะ ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้ง 4 ได้นำพระบรมสาริกธาตุของพระองค์ พร้อมด้วยเกศาอีก 4 องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ แล้วก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้ว นำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ต่อมา พระครูพิทักษ์พระบรมธาตุ (ทองอยู่) ได้ไปนมัสการพระธาตุชเวดากอง ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ท่านจึงได้จำมาก่อสร้างองค์พระเจดีย์เหมือนเจดีย์ชเวดากองล้อมคลุมองค์เก่าไว้ ปิดทองสวยงาม มีการจัดพิธีสมโภชและสักการะพระธาตุในวันขึ้น 14และ 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี 



     








  

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การ ทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอิน เทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ

· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)

บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้

· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด

บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้

· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น


 จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

อินเตอร์เน็ต

 อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต

   อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้

   ประวัติของอินเทอร์เน็ต
  อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร       รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก


           การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก

                ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทางธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น