วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัดพระธาตุหลวงพ่อทันใจ กมลวรรณ กาแก้ว



วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
      
หลวงพ่อทันใจ" วัดพระบรมธาตุบ้านตาก อ.บ้านตาก จ.ตาก ที่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธา                                          มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อทันใจ ว่าขอสิ่งใด ล้วนแต่ได้สมดังใจปรารถนาทุกประการย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2519 นายทิพย์ หิงคานนท์ อดีตข้าราชการครู หลังเกษียณอายุราชการ ได้ล้มป่วยลงอาการหนักมาโดยตลอด จึงได้มาสักการะพระบรมธาตุ และอธิษฐานต่อองค์หลวงพ่อทันใจ ขอให้หายป่วย มีสุขภาพดีแข็งแรง จะกลับมาทอดกฐินที่วัดแห่งนี้ 15 ปีปรากฏว่า    เป็นจริงดั่งคำอธิษฐาน อาการเจ็บป่วยของนายทิพย์ทุเลาลงตามลำดับ และในปี  พ.ศ.2520    จึงมาทอดกฐินพร้อมคณะญาติชาวจังหวัดชลบุรี ต่อเนื่องจนครบ 15 ปี   และต่อมาอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งนายทิพย์ได้ถึงแก่กรรมในวัย 89 ปี แต่ความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทันใจยังคงแพร่ขยายไปทั่วสารทิศ เช่น นักฟุตบอลทีมชาติไทย เคยยกทีมมาไหว้แก้บนเมื่อหลายปีก่อน,          บรรดานักการเมืองระดับชาติ,  นักธุรกิจใหญ่ต่างเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทันใจ เดินทางมาแก้บนตามที่ได้อธิษฐานไว้หลวงพ่อทันใจ ไม่เพียงแต่ดลบันดาล ในเรื่องหน้าที่การงาน ธุรกิจ การค้าขาย สำเร็จไปด้วยดีเท่านั้น ยังรวมไปในเรื่องของความรัก คู่ครอง และขอ บุตร-ธิดา
ส่วนการเสี่ยงทายความสำเร็จ มีช้างเสี่ยงทาย ใช้นิ้วก้อยยกสำหรับผู้ชาย และนิ้วนางสำหรับผู้หญิง ทำนายดวงชะตา หากสำเร็จครั้งแรกขอให้ยกขึ้นทันที และอธิษฐานยกใหม่อีกครั้ง ขอให้ยกไม่ขึ้น หากคำทำนายดีสำเร็จดังหมาย ซึ่งก็สมปรารถนาดังใจทุกประการ  โดยเครื่องบูชาหลวงพ่อทันใจ จะเป็นกล้วย ส้ม ผลไม้ตามฤดูกาล ส่วนของไหว้ประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ห้ามนำเข้ามาถวายและห้ามนำเข้าเขตพัทธสีมาอย่างเด็ดขาด ยกเว้น ไข่ต้มสุกอย่างเดียว  วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ยังปรากฏในศิลาจารึของพ่อขุนรามคำแหง   ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะศึกเจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุ ประมาณ 500 เมตรตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งเขียนเป็นภาษาเหนือ กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตามลำน้ำปิง พระองค์ได้เสด็จมายังดอยมะหิยังกะ ในเขตตัวเมืองตาก ตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้นำอัฐิและเกศากลับมายังดอยมะหิยังกะ ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้ง 4 ได้นำพระบรมสาริกธาตุของพระองค์ พร้อมด้วยเกศาอีก 4 องค์ มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะ แล้วก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้ว นำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ต่อมา พระครูพิทักษ์พระบรมธาตุ (ทองอยู่) ได้ไปนมัสการพระธาตุชเวดากอง ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ท่านจึงได้จำมาก่อสร้างองค์พระเจดีย์เหมือนเจดีย์ชเวดากองล้อมคลุมองค์เก่าไว้ ปิดทองสวยงาม มีการจัดพิธีสมโภชและสักการะพระธาตุในวันขึ้น 14และ 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี 



     








  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น